บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558
START .............
เริ่มชั้นเรียนโดยการปั้มใบเก็บคะแนนการเข้าชั้นเรียน
หลังจากนั้นไม่นานนัก ก็ได้เริ่มการเรียนการสอน
เนื้อหา
การที่เราเรียนในเรื่องสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น อันดับแรกเราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่า ความหมายของสื่อคืออะไร ลักษณะของสื่อเป็นอย่างไร ความสำคัญ เป็นต้นสื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา จะเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต หรือสิ่งที่เราประดิษฐ์ขึ้นเอง เป็นสิ่งที่จับต้องได้ สิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการและความรู้ให้แก่เด็กได้
ลักษณะของสื่อของเด็กปฐมวัย >> แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่
๑) วัสดุการสอนที่ครูจัดทำ ๒) วัสดุการสอนที่มีผู้จัดจำหน่าย
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
สื่อนั้นเป็นหัวใจสำคัญในการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ช่วยให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กจะมีความสนใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ อธิบายสิ่งที่ยากให้ง่าย ทำให้เด็กนั้นเกิดจินตนาการเรียนรู้ได้ไว ส่งเสริมการคิดและแก้ไขปัญหา และที่สำคัญเป็นเครื่องมีที่จะช่วยให้ครูนั้นพัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
การเลือกสื่อ
ต้องเน้นความปลอดภัย เพราะต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษภัยต่อเด็กเป็นของที่มีคุณภาพดีมีความคงทน ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ เหมาะสมกับวัยของเด็ก และใช้ได้ในหลายโอกาส
.
.
.
.
การเล่น
การเล่นนั้นมีความสำคัญกับเด็กมามากเพราะการเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้ เด็กกับการเล่นเป็นของคู่การบางครั้งผู้ปกครองนั้นอาจจะไม่เข้าใจว่าการเล่นของเด็กนั้นสำคัญ จึงจะเน้นไปในทางด้านวิชาการมากกว่าการที่จะให้เด็กได้เล่นดังนั้นเรามาดูประโยชน์ของการเล่นกันดีกว่า
ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นนั้นจะทำให้เป็กเกิดความรู้ ช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิด สติปัญญา สังคม อารมณ์ และร่างกาย การเล่นจะพัฒนาเด็กรอบด้าน ดังนั้นการเล่นจึงสำคัญกับเด็กมาก
หลังจากที่เรียนเนื้อหาในวันนี้เสร็จ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวิเคราะสื่อที่ตนเองได้เตรียมมา
สื่อที่เตรียมมาวันนี้เป็นกระปุกออมสินคุณปู่คุณย่า
(ได้มาจากผู้สนับสนุนหลักผู้ใจดี ระฆังตราเหล็กดัดฟัน )
ขั้นตอนการวิเคราะห์สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
1. รับใบงาน : ; วาดรูปสื่อที่ตนเองนำมา
2. ชื่อของสื่อ : กระปุกออมสินคุณปู่คุณย่า (ทาสีเสร็จแล้ว)
3. สื่อที่นำมาเป็นสื่อประเภทอะไร : วัสดุ / วิธีการ
4. เหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่เพราะเหตุใด : เหมาะกับเด็กอายุ 4 ขึ้นไป เพราะกระปุกออมสินทำจากปูนปลาสเตอร์มีนำหนักมากไปสำหรับเด็กเล็กที่ต่ำกว่า 4 ปี
5. ข้อดี/ขอจำกัด : มีรูปร่างน่ารัก เด็กสามารถแต่งแต้มสีสันได้ตามใจชอบมีผิวเรียบ ข้อจำกัด สามารถหล่นและแตกได้ถ้าไม่ระวัง
6. ประโยชน์ต่อการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน :
อารมณ์ > เด็กจะมีความสุขกับการได้ระบายสีกระปุกออมสินของตนเองทำให้เด็กมีความภูมิใจกับผลงานของตัวเอง
สังคม > ถ้าเราจัดกิจกรรมแบบกลุ่มให้เด็กได้ระบายสีร่วมกันกับเพื่อนหรือเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับผู้ปกครองจะช่วยส่งเสริมเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น
สติปัญญา > ให้เด็กรู้ว่ากระปุกออมสินมีไว้เพื่ออะไร และ ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการประหยัดอดออมรู้คุณค่าของเงิน รู้จักการใช้เงินอย่าถูกต้อง และเราสามารถเสริมเรื่อง หลักของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
ร่างกาย > ให้เด็กได้ใช้มือในการฝึกระบายสี
7. การนำสื่อมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ : นำมาจักในกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กได้ระบายสีกระปุกออมสินของตัวเอง หรือ เราอาจจะนำมาจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก การนำประปุกออมสินของเด็กๆ มาเป็นอุปกรในการเล่านิทานเกี่ยวกับเรื่องการอดออม หรือ นิทานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความรู้ให้กับเด็ก เป็นต้น
เมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารณ์ได้ให้จับกลุ่ม 5 คน และเลือกสื่อที่คิดว่าดีที่สุดของกลุ่มนำไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน และให้อธิบายว่าเหตุใดจึงไปเลือกสื่อที่เหลือก่อนจะจบการเรียนการสอนอาจารย์ได้สรุปเนื้อหาและเช็คชื่อ หลังจากนั้ให้นักศึกษาถามคำถามว่ามีข้อสงสัยหรือไม่
จบคาบเรียน
การนำความรู้ปประยุกต์ใช้
การเลือกสื่อ คำนึงถึงประโยชน์ และ ความปลอดภัย สำหรับเด็กนั้นสำคัญ ในอนาคตข้างหน้านั้นเราสามมารถนำหลักการทั้งหมดที่เรียนไปนั้น นำใช้ในการจัดหาสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และสามรถนำสื่อมาประยุกต์ใช้ในหลายๆกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดประเมินตนเอง
เข้าใจเกี่ยวกับสื่อมากขึ้นรู้วิธีในการวิเคราะห์สื่อว่านำมาใช้ในด้านใดได้บ้าง โดยรวมเข้าใจเนื้อหาในวันนี้
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือดีมีความเข้าใจในการร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาการเตรียมเนื้อหาที่อัดมาอย่างแน่นเอี้ยด มีการแจกแจงยกตัวอย่างอย่างละเอียด
จบการบันทึกครั้งที่ 1
See Ya
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น