วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 ณ วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 12:30 - 15:30

START..... 3


การระบายสี รูปภาพ และสื่อต่างๆ กับ เด็กนั้นเป็นของคู่กัน ดังนั้นในวันนี้ หลังจากปั้มใบเก็บคะแนนการเข้าชั้นเรียนเรียบร้อย อาจารย์ได้นำสื่อสำหรับเด็กระบายสีมาให้ได้ดู้ เป็นรูปภาพลายเส้นที่วาดเป็นรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ ก้อนเมฆ ต้นไม้ สิ่งมีชีวิตต่างๆรวมไปถึง ของใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กๆ


Ex : รูปลายเส้นเพื่อให้เด็กระบายสี (เห็นแล้วอยากกลับไปเป็นเด็กจังเลย....  o(=3=)o ....)
.
.
.
.
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสื่อ มีทั้งหมดด้วยกัน 3 อย่าง เราไปดูอย่างแรกกันเลยดีกว่า
.
.
.
.
สื่อชิ้นที่ 1 >> แม่ไก่ออกไข่
ในตอนที่ได้มาครั้งแรกจะเป็นกระดาษ A4  มีรูปแม่ไก่อยู่ในครึ่งนึงของกระดาษ ส่วนอีกด้านจะมีที่ไว้ให้สำหรับวาดไข่ไก่ (ตอนทำอะหนูทำเพลินไปหน่อยแหะๆเลยไม่ได้ถ่ายภาพมาให้ดู... o(>{+++}<)o...)
มาต่อๆ หลังจากได้กระดาษมาแล้วเราก็ระบายสีไก่วาดรูปไข่ทำนู้นี่บล่าๆ สุดท้ายก็ออกมาเป็นแบบนี้...ให้ดูพร้อมกับอย่างที่ 2 ละกัน

สื่อชิ้นที่ 2 >> นกฮูกปากมุ๊บมิ๊บ (ตั้งชื่อให้เองซะเลย) ก็ลงมือทำแบบเดียวกับสื่อชิ้นที่หนึ่งที่ 1 คือระบายสีและปิดท้ายโดยการกรีดปากนก ฟังดูน่ากลัวกรีดปากงี้แต่ออกมาน่ารักนะจะบอกให้ 
แต่นแตนแต๊นนนนน เมื่อทำสื่อทั้งสองอย่างเสร็จเรียบร้อยเราก็จะได้นกฮูกมุ๊บมิ๊บกับคุณแม่ไก่เมืองหนาว
น่ารักจัง (หลงผลงานตัวเอง ..o(>////<)o...)

สื่อชิ้นที่ 3 >>  การ์ดดอกไม้ฟรุ๊งฟริ๊ง ตั้งชื่อให้ใหม่อีกแล้ว =o= !
อันดับแรกเลือกกระดาษสีที่ชอบมา 5 สี ใช้ 4 แผ่นในการทำดอกไม้เหลือ 2 แผ่น เอ้ย ! 1 แผ่นเพื่อนนำมาทำเป็นการ์ด  พับๆตัดๆพับๆตัดๆสุดท้ายก็ บูม !!!!! กลายเป็นโกโก้ครั้น......o(-0-)o.. 


และเราก็จะได้การ์ดดอก!ไม้ที่สวยงามดังนี้ 
(พยายามแล้วจริงๆได้เท่านี้แหละช่วยชมว่าสวยหน่อยนะกราบงามๆ ...o(>3<)o..)

เมื่อได้สรรค์สร้างสื่อทั้งสามอย่างเสร็จแล้วแน่นอนว่าเมื่อทำกิจกรรมเสร็จเราก็ต้องเก็บกวาดขยะทั้งหลายเก็บสีให้เข้าที่  
นั้นให่เรียนร้อยตั้งในฟังประโยชน์จากสื่อที่ได้ทำไปในวันนี้จากอาจารย์
หลังจากนั้นก็กราบสวัสดี  Bye -Bye  อาจารย์ที่เคารพ 

END

 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


การทำสื่อในวันนี้นั้นสอนเรา ในการทำสื่อการสอนโดยตนเอง และ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการสอนได้ในอนาคตเพราะสื่อ 1ชิ้นนั้นสามารถสอนได้หลายอย่าง  เช่น แม่ไก่ออกไข่นั้นเราสามารถสอนเรื่องการนับเลขโดยการนับจำนวนไข่ที่แม่ไก่ไข่ออกมาโดยผ่านการแต่งนิทานเล่าเรื่องแม่ไก่โดยใช้ไก่ที่เราทำนั้นเป็นตัวละคร เป็นต้น 

ประเมินตนเอง


การทำสื่อต่างในวันนี้เข้าใจเป็นอย่างดีแต่เรื่องการตัดกระดาษในการทำการ์ดดอกไม้นี้ต้องพัฒนาอีกเยอะ เพราออกมาสวยในแบบของตัวเองแต่คนอื่นนี้ไม่รู้ว่าสวยหรือไม่ดังนั้นต้องพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานของคนทั่วไป o(= - =)o

ประเมินเพื่อน


เพื่อนมีความกระตือรือล้นในการทำงานมีความตั้งใจและจดจ่อในการทำงานเป็นอย่างดีทำให้มีผลงานที่สวยงามมามายหลายแบบ o(^3^)o

ประเมินอาจารย์


อาจารย์อธิบายได้อย่างละเอียดและช่วยสอนบอกอย่างใจเย็นในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจ 
เลิฟ อาจารย์ ฮับ   o(^[+++]^)o


จบการบันทึกครั้งที่ 3 
See Ya










วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 12:30 - 15:30

START ....... 2







ปั้มใบคะแนนก่อนเริ่มชั้นเรียน คุยรายละเอียดอะไรสักอย่างก่อนเรียนเกี่ยวกับการไปนอกสถานที่ใช้เวลาไม่นาน ก็เริ่มการเรียนในชั้นเรียน

เนื้อหา

เกมการศึกษา
คือสื่อการเรียนการสอน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ เกมการศึกษานั้นมีหลายรูปแบบจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ประสาทการรับรู้ ไปจนถึงความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดทำความรู้ประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกเกมนั้นก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เกมที่ดีจะต้อง เป็นเกมที่ง่ายไม่ซับซ้อน ท่าทายความสามารถของเด็ก มีกติกาชัดเจน สนุก
การเล่นเกม
การเล่นเกมนั้นจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายเพราะเกมช่วยพัฒานาทักษะในการเครื่อนไหว ทำให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารามณ์ ปรับตัวเข้ากับสังคมช่วยในการพัฒนาในการรับรู้ การคิด การแ้ไขปัญหา การตัดสินใจ และการทำตามกฎกติกา
การเลือกเกม
ต้องดูว่าเกมนั้นส่งเสริมเด็กในด้านใด เป็นเกมเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กสนใจ เล่นซ้ำได้ไม่เบื่อ





เมื่อเรียนเนื้อหาพอสมควรอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆที่ไม่ได้มาเรียนในควาบที่แล้วและไม่ได้ทำกิจกรรมการวิเคราะห์สื่อ ได้ทำการวิเคราะห์สื่อและจับกลุ่มเลือกสื่อที่ดีที่สุดมาอธิบาย พร้อมกับอธิบายเกี่ยวกับสื่อที่ไม่ได้เลือกว่าเพราะอะไรจึงไม่ได้เลือก



เมื่อจบกิจกรรมย้อนหลังแล้วอาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอบทความที่ให้ไปหาเป็นการบ้านไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้บ้าง เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร

จบคาบเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ในอานาคตเราจะต้องเลือกเกมคิดเกมประยุกต์ใช้เกมในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาในทุกด้านและโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักศึกษาบทความว่าหรือหาแหล่งความรู้เพื่อเสริมความรู้ให้ตนเอง และคอดวิเคราะห์ในข่าวสารที่ได้รับมาไม่ว่าจะเป็นบทความ เนื้อหาจากแหล่งความรูที่เราหามา

ประเมินตนเอง

เข้าใจในเกมการศึกษามากขึ้น โดยรวมเข้าใจในเนื้อหา ตั้งใจฟังอยู่ในระดับหนึ่ง

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจและเตรียมตัวมาที่จะนำเสนอบทความอย่างดี (แต่บังเอิญว่าซ้ำกันเยอะไปหน่อย)
o(0*0)o

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมเนื้อหาในการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายได้ละเอียด.... 
จบการบันทึกครั้งที่ 2 
See Ya

  





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

  START .............
  
เริ่มชั้นเรียนโดยการปั้มใบเก็บคะแนนการเข้าชั้นเรียน 
หลังจากนั้นไม่นานนัก ก็ได้เริ่มการเรียนการสอน

           

เนื้อหา

                     การที่เราเรียนในเรื่องสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น อันดับแรกเราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่า ความหมายของสื่อคืออะไร ลักษณะของสื่อเป็นอย่างไร ความสำคัญ เป็นต้น

สื่อ   หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา จะเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต หรือสิ่งที่เราประดิษฐ์ขึ้นเอง เป็นสิ่งที่จับต้องได้ สิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการและความรู้ให้แก่เด็กได้

ลักษณะของสื่อของเด็กปฐมวัย   >>  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
                                                           1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่
                                                               ๑) วัสดุการสอนที่ครูจัดทำ  ๒) วัสดุการสอนที่มีผู้จัดจำหน่าย
                                                           2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
                                                           3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
สื่อนั้นเป็นหัวใจสำคัญในการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ช่วยให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กจะมีความสนใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ อธิบายสิ่งที่ยากให้ง่าย ทำให้เด็กนั้นเกิดจินตนาการเรียนรู้ได้ไว ส่งเสริมการคิดและแก้ไขปัญหา และที่สำคัญเป็นเครื่องมีที่จะช่วยให้ครูนั้นพัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
                     การเลือกสื่อ
ต้องเน้นความปลอดภัย เพราะต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษภัยต่อเด็กเป็นของที่มีคุณภาพดีมีความคงทน ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ เหมาะสมกับวัยของเด็ก และใช้ได้ในหลายโอกาส
.
.
.
.
                     การเล่น
การเล่นนั้นมีความสำคัญกับเด็กมามากเพราะการเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้ เด็กกับการเล่นเป็นของคู่การบางครั้งผู้ปกครองนั้นอาจจะไม่เข้าใจว่าการเล่นของเด็กนั้นสำคัญ จึงจะเน้นไปในทางด้านวิชาการมากกว่าการที่จะให้เด็กได้เล่นดังนั้นเรามาดูประโยชน์ของการเล่นกันดีกว่า
              ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นนั้นจะทำให้เป็กเกิดความรู้ ช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิด สติปัญญา สังคม อารมณ์ และร่างกาย การเล่นจะพัฒนาเด็กรอบด้าน ดังนั้นการเล่นจึงสำคัญกับเด็กมาก

                        

หลังจากที่เรียนเนื้อหาในวันนี้เสร็จ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวิเคราะสื่อที่ตนเองได้เตรียมมา
สื่อที่เตรียมมาวันนี้เป็นกระปุกออมสินคุณปู่คุณย่า 
(ได้มาจากผู้สนับสนุนหลักผู้ใจดี ระฆังตราเหล็กดัดฟัน )



ขั้นตอนการวิเคราะห์สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 
1. รับใบงาน :  ; วาดรูปสื่อที่ตนเองนำมา
2. ชื่อของสื่อ : กระปุกออมสินคุณปู่คุณย่า (ทาสีเสร็จแล้ว)
3. สื่อที่นำมาเป็นสื่อประเภทอะไร : วัสดุ / วิธีการ
4. เหมาะกับเด็กอายุเท่าไหร่เพราะเหตุใด : เหมาะกับเด็กอายุ 4 ขึ้นไป เพราะกระปุกออมสินทำจากปูนปลาสเตอร์มีนำหนักมากไปสำหรับเด็กเล็กที่ต่ำกว่า 4 ปี 
5. ข้อดี/ขอจำกัด : มีรูปร่างน่ารัก เด็กสามารถแต่งแต้มสีสันได้ตามใจชอบมีผิวเรียบ  ข้อจำกัด สามารถหล่นและแตกได้ถ้าไม่ระวัง 
6. ประโยชน์ต่อการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน :
อารมณ์ > เด็กจะมีความสุขกับการได้ระบายสีกระปุกออมสินของตนเองทำให้เด็กมีความภูมิใจกับผลงานของตัวเอง
สังคม > ถ้าเราจัดกิจกรรมแบบกลุ่มให้เด็กได้ระบายสีร่วมกันกับเพื่อนหรือเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับผู้ปกครองจะช่วยส่งเสริมเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น
สติปัญญา > ให้เด็กรู้ว่ากระปุกออมสินมีไว้เพื่ออะไร และ ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการประหยัดอดออมรู้คุณค่าของเงิน รู้จักการใช้เงินอย่าถูกต้อง และเราสามารถเสริมเรื่อง หลักของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
ร่างกาย > ให้เด็กได้ใช้มือในการฝึกระบายสี
7. การนำสื่อมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ : นำมาจักในกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กได้ระบายสีกระปุกออมสินของตัวเอง หรือ เราอาจจะนำมาจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก การนำประปุกออมสินของเด็กๆ มาเป็นอุปกรในการเล่านิทานเกี่ยวกับเรื่องการอดออม หรือ นิทานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความรู้ให้กับเด็ก เป็นต้น 

เมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารณ์ได้ให้จับกลุ่ม 5 คน และเลือกสื่อที่คิดว่าดีที่สุดของกลุ่มนำไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน และให้อธิบายว่าเหตุใดจึงไปเลือกสื่อที่เหลือก่อนจะจบการเรียนการสอนอาจารย์ได้สรุปเนื้อหาและเช็คชื่อ หลังจากนั้ให้นักศึกษาถามคำถามว่ามีข้อสงสัยหรือไม่ 


จบคาบเรียน

การนำความรู้ปประยุกต์ใช้

การเลือกสื่อ คำนึงถึงประโยชน์ และ ความปลอดภัย สำหรับเด็กนั้นสำคัญ ในอนาคตข้างหน้านั้นเราสามมารถนำหลักการทั้งหมดที่เรียนไปนั้น นำใช้ในการจัดหาสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และสามรถนำสื่อมาประยุกต์ใช้ในหลายๆกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเมินตนเอง

เข้าใจเกี่ยวกับสื่อมากขึ้นรู้วิธีในการวิเคราะห์สื่อว่านำมาใช้ในด้านใดได้บ้าง โดยรวมเข้าใจเนื้อหาในวันนี้

ประเมินเพื่อน

เพื่อนให้ความร่วมมือดีมีความเข้าใจในการร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาการเตรียมเนื้อหาที่อัดมาอย่างแน่นเอี้ยด  มีการแจกแจงยกตัวอย่างอย่างละเอียด

จบการบันทึกครั้งที่ 1 
See Ya